การแบ่งความเสี่ยงในการแพร่กระจายของมะเร็ง

จากเซลล์ปกติ กลายเป็นเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้อย่างไร

นอกจากจะมีการแบ่งระยะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแล้ว ยังมีการแบ่งโดยใช้เกณฑ์ความเสี่ยงในการลุกลาม หรือกระจายของเซลล์มะเร็ง เพื่อประกอบในการตัดสินใจการรักษาของแพทย์ต่อไป ซึ่งจะใช้ข้อมูลจากค่าผลเลือด PSA Gleason score (มาตรฐานการอ่านผลชิ้นเนื้อมะเร็งต่อมลูกหมากว่ามีความรุนแรงแค่ไหน) และ TNM staging (ระบบในการพิจารณาว่ามะเร็งอยู่ในขั้นไหน)

 

แบ่งโดยใช้เกณฑ์ความเสี่ยงในการลุกลาม

  1. Prostatic Specific Antigen หรือ PSA เป็นสารที่ถูกสร้างและหลั่งมาจากต่อมลูกหมาก ดังนั้นหากพบว่ามีค่า PSA ที่สูงกว่าค่าปกติ (ค่าปกติ 4 ng/mL) แสดงว่าต่อมลูกหมากอาจมีความผิดปกติ

 

  1. Gleason score เป็นคะแนนที่แพทย์เป็นผู้ประเมินจากชิ้นเนื้อที่ได้มาจากต่อมลูกหมาก
  • Gleason score (GS) เท่ากับ 6 แสดงว่าเซลล์ต่อมลูกหมากมีแนวโน้มที่เพิ่มจำเซลล์ที่ต่ำ
  • Gleason score (GS) เท่ากับ 7 แสดงว่าเซลล์ต่อมลูกหมากมีแนวโน้มที่เพิ่มจำเซลล์ที่ปานกลาง
  • Gleason score (GS) มากกว่า 7 แสดงว่าเซลล์ต่อมลูกหมากมีแนวโน้มที่เพิ่มจำเซลล์ที่สูง
  1. TNM staging เป็นการประเมินจาก T (Tumor) ขนาดก้อนมะเร็ง N (Lymph nodes) มะเร็งลุกลาม ไปที่ต่อมน้ำเหลือง M (Metastasis)  การแพร่กระจายของโรคไปที่อวัยวะ ซึ่งการประเมิน TNM staging ในโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

 

Tumor (T) ขนาดก้อนมะเร็ง 

T1 ก้อนมะเร็งมีขนาดที่เล็กมาก สามารถแบ่งย่อยได้ ดังนี้

  • T1a คือ ก้อนมะเร็งน้อยกว่า 5% ของชิ้นเนื้อทั้งหมดที่ตัดออกมา
  • T1b คือ ก้อนมะเร็งมากกว่า 5% ของชิ้นเนื้อทั้งหมดที่ตัดออกมา
  • T1c คือ ตรวจพบชิ้นเนื้อมะเร็งจากการตัดชิ้นเนื้อ อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่นการเพิ่มขึ้นสูงของ PSA

T2 ก้อนมะเร็งมีขนาดจำกัดอยู่ภายในต่อมลูกหมาก สามารถแบ่งย่อยได้ ดังนี้

  • T2a คือ ก้อนมะเร็งมีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของต่อมลูกหมาก 1 ซีก และอยู่ในข้างใดข้างหนึ่งของต่อมลูกหมาก
  • T2b คือ ก้อนมะเร็งมีขนาดมากกว่าครึ่งหนึ่งของต่อมลูกหมาก 1 ซีก และอยู่ในข้างใดข้างหนึ่งของต่อมลูกหมาก
  • T2c คือ ก้อนมะเร็งอยู่ทั้งสองข้างของต่อมลูกหมาก

T3 ก้อนมะเร็งลุกลามผ่านชั้นเยื่อหุ้มต่อมลูกหมาก (capsule) แบ่งย่อยได้ดังนี้

  • T3a คือ ก้อนมะเร็งอยู่ในเยื่อหุ้มต่อมลูกหมาก
  • T3b คือ ก้อนมะเร็งลุกลามไปในท่อนำอสุจิ (seminal vesicles)

T4 ก้อนมะเร็งแพร่กระจายไปอวัยวะที่ใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

 

Node (N) มะเร็งลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง 

  • N0 คือ มะเร็งยังไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • N1 คือ มะเร็งยังไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้เคียงต่อมลูกหมาก

 

Metastasis (M) การแพร่กระจายของโรคไปที่อวัยวะอื่น

M0 มะเร็งยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

M1 มะเร็งแพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมาก สามารถแบ่งย่อยได้ดังนี้

  • M1a คือ มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณนอกอุ้งเชิงกราน
  • M1b คือ มะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูก
  • M1c คือ มะเร็งแพร่กระจายไปที่ส่วนหรืออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

 

อ่านเรื่องของ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ทั้งหมด :