วิธีป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

เมื่อแพทย์ได้ชี้ชัดถึงการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ขั้นตอนการรักษานั้นมีหลากหลายวิธี โดยจะมีแนวทางการรักษาไปตามระยะของโรค ประกอบกับดูในเรื่องของสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ มีวิธีการรักษาดังนี้

ปรับพฤติกรรม เพื่อป้องกัน มะเร็งต่อมลูกหมาก

1.อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง 

สารอาหารที่ได้รับในทุกๆ วัน ส่งผลอย่างมากต่อร่างกายในระยะยาว ฉะนั้นอาหารที่เข้าไปสะสมในร่างกายแล้วไม่เกิดประโยชน์ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยง หรือบริโภคให้น้อยลง อาทิ อาหารไขมันสูง เนื้อแดง เป็นต้น เพราะไขมัน ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศสูงขึ้น เป็นตัวเร่งให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้รวดเร็ว

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

2.อาหารที่มีคุณประโยชน์ป้องกัน มะเร็งต่อมลูกหมาก

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าผู้ชายที่กินผักน้อยกว่า 14 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงมากกว่าชายที่กินผักสัปดาห์ละ 28 หน่วยบริโภคถึง 50% โดยอาหารที่ส่งผลดีต่อการป้องกัน โรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีดังนี้

 

    • ผัก ผลไม้สีแดง ส้ม เหลือง ที่มีสาร Lycopene ได้แก่ มะเขือเทศ (ปรุงสุก) แครอท แตงโม
    • พืชตระกูลกะหล่ำ ที่มีสาร Sunforaphane ได้แก่ บร็อคโคลี่ ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี เป็นต้น ปลาทะเล และปลาน้ำจืดบางชนิด ที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น ปลาเนื้ออ่อน ปลาสลิด ปลานิล ปลาโอ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ฯลฯ
    • ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ซึ่งมีสาร Flavonoids และ Isoflavone

นอกจากนี้ก็ยังมีพวกธัญพืชต่างๆ อาทิ ข้าวไม่ขัดสี จมูกข้าวสาลี เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วต่างๆ เป็นต้น

ออกกำลังกายป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ความอ้วนเกินเกณฑ์มีผลต่อระดับฮอร์โมนซึ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในรายที่อ้วนลงพุงจะส่งผลให้ระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักจึงเป็นสิ่งที่ควรดูแลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ควรงดอาหารที่มีรสหวานและเค็มจัดด้วย

งานวิจัยพบว่า การออกกำลังกายแบบหนัก 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ ควบคู่ไปกับการดูแลอาหารการกิน ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้มากถึง 61%

 

งดบุหรี่และแอลกอฮอล์

4.งดบุหรี่และแอลกอฮอล์

การดูดบุหรี่มีความสัมพันธ์อย่างมากกับโรคมะเร็งหลายชนิด รวมถึงยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากถึง 2 เท่า ในผู้ที่สูบบุหรี่จัด มักมีปัญหาแทรกซ้อนจากการรักษา และมีความเสี่ยงการเสียชีวิตจากมะเร็งมากกว่าคนที่ไม่สูบ และการเลิกบุหรี่จะทำให้ลดการเกิดมะเร็งได้ 30% รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์หนักก็เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้นเช่นกัน

5.การหลั่งน้ำอสุจิ

ทางการแพทย์ของออสเตรเลียตั้งข้อสังเกตในโรคมะเร็งต่อมลูกหมากว่า การที่โรคนี้พบมากในผู้ชายสูงอายุ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ วัยหนุ่มมักจะมีการหลั่งบ่อยอยู่เสมอ ขณะที่ผู้ชายสูงอายุที่ไม่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอาจมีการหลั่งบ่อย ทำให้อัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยลงกว่าผู้ที่ไม่ค่อยได้ทำการหลั่ง ฉะนั้นปัญหาอีกอย่างหนึ่งของกลุ่มผู้ชายสูงอายุนั่นคือ ปัญหาการแข็งตัว ซึ่งเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาทางแก้ไขต่อไป

ด้วยเหตุนี้ทางการแพทย์ของออสเตรเลียจึงมีการแนะนำว่า หากเริ่มเข้าสู่วัยที่อายุมากขึ้น ก็ควรหลั่งน้ำอสุจิบ่อยๆ เฉลี่ย 5 ครั้ง/สัปดาห์ จะช่วยลดอัตราการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึง 34%

 

 6.ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

การดูแลรักษาสุขภาพถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในทุกเพศทุกวัย รวมถึงการเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์อย่างเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะหากเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งมีโอกาสรักษาให้หายได้  

วิธีเหล่านี้ นอกจากจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้แล้ว ยังช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ส่งผลต่อการป้องกันโรคอื่นๆ ไปด้วย เพียงแค่ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเล็กน้อยเท่านั้น

” กลุ่ม PARANG คือ กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
ด้านโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่มาให้ความรู้โรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่ถูกต้อง “

สารอาหารช่วยป้องกัน มะเร็งต่อมลูกหมาก

หลายครั้งหลายหนที่มีการเอ่ยถึงเรื่องของอาหารการกินที่มีทั้งประโยชน์และโทษต่อร่างกายในระยะยาว แต่สารอาหารที่ได้จากทุกมื้ออาหารมักถูกมองข้ามไป ทั้งที่มีส่วนสำคัญมากโดยเฉพาะเมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ร่างกายของมนุษย์ที่เริ่มผลิตฮอร์โมนน้อยลง ส่งผลให้ทั้งร่ายกาย จิตใจ รวมถึงอารมณ์เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าจะตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่ใกล้ตัวอย่างคาดไม่ถึง อย่างโรคมะเร็งต่อมลูกหมากก็เช่นกัน ผู้ชายมีความเสี่ยงจะเป็นมาก แต่ก็สามารถป้องกันได้ง่ายด้วยสารอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งมีงานวิจัยออกมาแล้วว่ามีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริง คือ

สารอาหารช่วยป้องกัน มะเร็งต่อมลูกหมาก

สารไลโคปีน

หนึ่งในสารที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลาย ด้วยเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ แต่มีคุณประโยชน์ช่วยให้เซลล์ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดคอเลสเตอรอล มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ได้ โดยเฉพาะป้องกัน มะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย สามารถความเสี่ยงลดลงถึง 83% รองลงมา คือมะเร็งปอด กระเพาะอาหาร  ตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ ช่องปาก ฯลฯ

‘ไลโคปีน’ พบมากในผักผลไม้สีแดง โดยเฉพาะมะเขือเทศ ซึ่งหากมะเขือเทศผ่านความร้อนจะยิ่งทำให้การยึดจับของไลโคปีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศอ่อนตัวลง ทำให้ไลโคปีนถูกร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่ามะเขือเทศสด เพราะสามารถดูดซึมได้ดีกว่า ยิ่งหากเป็นผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศที่ผ่านกระบวนการผลิต ปริมาณไลโคปีนก็ยิ่งสูงขึ้นมาก เนื่องจากมีการผ่านกระบวนการทำให้เข้มข้นขึ้น เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ

 

สารไอโซเฟลโวนส์

สารอาหารจากพืช ที่ใกล้เคียงกับฟลาโวนอยด์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นไฟโตเอสโทรเจน ซึ่งสารไอโซเฟลโวนส์ที่พบมากที่สุดในถั่วเหลืองนั้น เป็นสารกลุ่มที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงสามารถไปจับกับตัว รับเอสโตนเจนในร่างกายได้ ช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ส่งผลต่อการป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล รวมถึงค่า PSA ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก

แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายก็ไม่สามารถฟื้นฟูกลับคืนมาได้ ส่วนหนึ่งด้วยเรื่องอายุที่สูงมากแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ความดันโลหิต การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ประกอบกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการลดน้ำหนัก ทั้งนี้ทุกๆ วิธีการฟื้นฟูควรมีการปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด

สารซัลโฟราเฟนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

สารซัลโฟราเฟน

เป็นสารที่พบมากในพืชผักตระกูล กะหล่ำ โดยเฉพาะบร็อคโคลี่ เป็นแหล่งวิตามิน กรดโฟลิกและเส้นใยอาหาร ช่วยทำให้ตับขับสารพิษ ลดระดับคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเจริญของเนื้องอก สารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติที่ช่วยลดการอักเสบและช่วยกำจัดสารก่อมะเร็ง อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษในการต่อต้านมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม, ปากมดลูก และต่อมลูกหมาก

วิตามินดี

ประเทศไทยที่มีแสงแดดจ้าในทุกๆ วัน หากได้สัมผัสแสงแดดโดยตรงเป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 15 นาที ในทุกๆ วัน ก็จะกลายเป็นตัวสังเคราะห์วิตามินดีใต้ชั้นผิวหนังของเราได้ดีที่สุด แต่คนไทยส่วนใหญ่กลับขาดวิตามินดี เพราะแสงแดดที่แรงมากจนเกินไปก็อาจะส่งผลเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน แต่ก็สามารถหาอาหารที่มีวิตามินดีมาทดแทนได้บ้าง เช่น นมพร่อมมันเนย เห็ดหอม ไข่แดง ปลาทะเล เพราะวิตามินดี มีผลในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งต่อมลูกหมากและลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย  

วิตามินดี

สารซีลีเนียม

สารต้านอนุมูลอิสระในสารซีลีเนียม จะช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ และป้องกัน มะเร็งต่อมลูกหมาก ที่สำคัญคือลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งต่อมลูกหมากได้มากกว่า 50% โดยพบมากในอาหารจำพวกธัญพืชไม่ขัดสี จมูกข้าวสาลี กระเทียม เมล็ดทานตะวัน ข้าวกล้อง ถั่ว ปลาทะเล เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน

วิตามินอี

มีงานวิจัยพบว่าวิตามินอีช่วยชะลออัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึง 40% ลดอัตราการลุกลามในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก และวิตามินอียังจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นหากได้ทำงานคู่กันกับสารซีลีเนียม โดยอาหารที่มีวิตามินอีสูง ได้แก่ น้ำมันพืช ข้าวโพด ถั่วเปลือกแข็ง และผักใบเขียวจัด

สังกะสี

สังกะสี หรือ Zinc มีส่วนสำคัญในการควบคุมกระบวนการทำงานต่างๆ ในระดับเซลล์ ช่วยซ่อมแซม ดูแลร่างกายส่วนที่สึกหรอ หากร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยให้ต่อมลุกหมากทำงานได้เป็นปกติ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ของอวัยวะสืบพันธุ์ ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากและมะเร็งต่อมลูกหมาก และยังมีส่วนสำคัญต่อการสร้างโปรตีนและคอลลาเจน สร้าง DNA เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย โดยพบได้ในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น หอยนางรม เนื้อสัตว์ทุกประเภท ตับ นม เนย ไข่ ข้าวกล้อง เมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน ถั่วเขียว ถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง มันฝรั่ง ผักใบเขียว ฯลฯ


นอกจากการดูแลตัวเองในเรื่องของอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อป้องกัน มะเร็งต่อมลูกหมาก การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ค้นพบได้เร็ว และรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้

อ่านเรื่องของ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ทั้งหมด :

อ่านบทความทางการแพทย์เพิ่ม