ทำความรู้จักโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก คืออะไร ?

มะเร็งต่อมลูกหมาก คืออะไร

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในผู้ชายจากทั่วโลก รองจากมะเร็งปอด โดยประเทศไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มะเร็งต่อมลูกหมากเคยมีสถิติอยู่ที่อันดับ 9 ของโรคมะเร็งที่พบมากในผู้ชายไทย แต่ปัจจุบันพบว่าขึ้นมาติดอันดับ 4 โดยอัตราการเกิดของโรคอยู่ที่ 7.5 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ หลายคนจึงตั้งคำถามว่า มะเร็งต่อมลูกหมาก อันตรายไหม? เรามีคำตอบให้คุณ

” กลุ่ม PARANG คือ กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
ด้านโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่มาให้ความรู้โรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่ถูกต้อง “

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) คืออะไร ระหว่างโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก กับต่อมลูกหมากโตในผู้ชาย ต่างกันอย่างไร หากต้องเผชิญกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก อันตรายไหม ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) คืออะไร

ลักษณะของต่อมลูกหมาก

ต่อมลูกหมากเป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญของระบบสืบพันธุ์ในผู้ชาย ซึ่งอยู่ภายในร่างกายบริเวณโคนของอวัยวะเพศชาย ในช่องท้องน้อย ขนาดประมาณ 4x2x3 ซ.ม. หนัก 20 กรัม รูปร่างปกติคล้ายกับเกาลัด แบ่งออกเป็น 2 ซีก หุ้มบริเวณรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ต่อกับปากทางออกของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ตัวท่อกระเพาะปัสสาวะจะไหลผ่านกลางต่อมลูกหมาก โดยตัวต่อมลูกหมากจะมีการเติบโตขึ้นตามอายุ เพราะฮอร์โมนเพศชาย.

ลักษณะของต่อมลูกหมาก

ตัวต่อมลูกหมากจะมีการเติบโตขึ้นตามอายุ โดยอาศัยฮอร์โมนเพศชายในการเติบโต ซึ่งส่วนใหญ่สร้างมาจากอัณฑะ และมีบางส่วนสร้างมาจากต่อมหมวกไต เมื่อต่อมลูกหมากเติบโต จะมีเซลล์เนื้อเยื่อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นหากผู้ชายมีอายุมากขึ้นก็มักจะพบว่าปัสสาวะได้ลำบากขึ้น ด้วยเหตุเพราะต่อมลูกหมากโตขึ้นแล้วไปเบียดท่อทางเดินปัสสาวะให้แคบลงนั่นเอง

 

หน้าที่ของต่อมลูกหมาก

ทำหน้าที่ผลิตน้ำ เเก็บสะสมหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ช่วยให้ตัวอสุจิมีการเคลื่อนที่ออกมาเมื่อมีการหลั่ง และยังช่วยในการปกป้องอสุจิจากความเป็นกรดของช่องคลอด.

 

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก อันตรายไหม และเกิดขึ้นได้อย่างไร

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายเสียชีวิตมากเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มโรคมะเร็ง แม้สาเหตุยังไม่แน่ชัด แต่จากสถิติก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าเกิดจากการเจริญเติบโตและแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น จนผิดปกติของเซลล์ต่อมลูกหมากที่ไม่สามารถควบคุมได้ จนทำให้เนื้องอกเหล่านี้พัฒนาภายในต่อมลูกหมาก กลายเป็นมะเร็งได้.

แม้ว่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะเป็นมะเร็งชนิดเดียวที่มีอัตราการเติบโตของโรค ช้ากว่ามะเร็งชนิดอื่น แต่ก็มีโอกาสที่เซลล์มะเร็งมีโอกาสแพร่ขยายสู่กระแสเลือด หรือต่อมนํ้าเหลืองไปยังส่วนอื่นๆ อีกทั้งสามารถเกาะติดกับอวัยวะอื่นของร่างกาย จนทําให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหาย และถูกทําลายในที่สุด แต่หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ก็สามารถดำเนินการรักษาให้หายขาดได้

 

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก อันตรายไหม และเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

ระยะที่ 4 ระยะแพร่กระจายมะเร็งต่อมลูกหมาก

 

สังเกตอาการเริ่มต้น ของมะเร็งต่อมลูกหมาก

อาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมักไม่มีอาการในระยะต้น ทำให้ต้องอาศัยการตรวจคัดกรองค่า PSA โดยการตรวจร่างกายประจำปี

ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก

 

หากโรคมีการลุกลาม มักมีอาการดังนี้

ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากจากอาการปัสสาวะ

 

    • ปัสสาวะไม่ออก หรือติดขัด

    • ปัสสาวะแสบ หรือมีเลือดปนออกมา

    • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน

    • เมื่อหลั่งน้ำอสุจิจะรู้สึกปวดมาก

    • ปวดหลังส่วนล่าง ปวดสะโพก หรือช่วงต้นขาตลอดเวลา

ทั้งนี้อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมลูกหมากเหล่านี้จะใกล้เคียงกับโรคต่อมลูกหมากโต จึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจอย่างไร ในเบื้องต้น

แม้ว่าอาการเริ่มต้น ของมะเร็งต่อมลูกหมาก จะสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองในเบื้องต้น แต่โรคนี้ก็สามารถตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยมีแนวทางการตรวจหา ดังนี้

    • การลูบคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
    • การตรวจปัสสาวะ
    • การเจาะเลือดหาค่า PSA (Prostatic Specific Antigen)
    • การส่องกล้อง
    • การตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนัก
    • การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมาก

อาการผิดปกติทางทางเดินปัสสาวะ

นอกจากนี้อาการผิดปกติทางทางเดินปัสสาวะอื่น ๆ ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึง โรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เช่น ปัสสาวะไม่ออก ติดขัด ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือ แสบ มีเลือดปน ฯลฯ เป็นต้น

 

ตรวจสุขภาพเพื่อมะเร็งต่อมลูกหมาก

 

ระหว่างโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก กับต่อมลูกหมากโตในผู้ชาย ต่างกันอย่างไร

โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostate Hypertrophy)

มีสาเหตุมาจากขนาดของต่อมลูกหมากที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจนทำให้เกิดแรงดันที่กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ และส่งผลกระทบกับการปัสสาวะ ซึ่งมีผู้ชายจำนวนไม่น้อยที่ละเลยอาการต่าง ๆ ของต่อมลูกหมากโต มักพบได้บ่อยในผู้ชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และมีอาการปรากฏชัดเมื่ออายุ 50-60 ปี

 

เทียบต่อมลูกหมากโต ลูกหมากปกติ

อาการของโรคต่อมลูกหมากโต

  • ปัสสาวะได้ลำบาก
  • มีปัญหาเรื่องการไหลของปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • ปัสสาวะน้อย และปัสสาวะไม่สุด
  • ตื่นบ่อยเนื่องจากการปัสสาวะบ่อย
  • เกิดการปัสสาวะเล็ดเนื่องจากไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้

นอกจากนี้ โรคต่อมลูกหมากโตยังเป็นสาเหตุของอาการปัสสาวะไม่ออก หรือภาวะแทรกซ้อน เช่น นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือความเสียหายของไตได้อีกด้วย หากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ปวดที่สีข้าง บริเวณหลัง หรือบริเวณท้อง ปัสสาวะมีหนองหรือมีเลือดปน

 

ความแตกต่างของมะเร็งต่อมลูกหมาก กับต่อมลูกหมากโตในผู้ชาย

โรคต่อมลูกหมากโต ไม่ใช่มะเร็ง พบได้ในผู้ชายเกือบทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น จัดเป็นการเปลี่ยนเเปลงของร่างกายอย่างหนึ่ง เเต่มะเร็งเป็นความผิดปกติของเซลล์ต่อมลูกหมากที่โตเเบบไม่หยุดยั้ง เเละไม่ถูกกำจัดด้วยขบวนการกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติของร่างกาย

การสังเกตจากอาการเริ่มต้นว่าเป็นต่อมลูกหมากโต หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยทั่วไปอาการก็จะคล้ายกันมาก ต้องคอยสังเกตตัวเองและตรวจร่างกายประจำปี อย่าชะล่าใจ เพราะถ้าหากเป็นเซลล์มะเร็ง จะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยไม่แสดงอาการใดๆ จนผู้ป่วยหลายคนมาตรวจพบก็เข้าระยะที่ 3 แล้ว ดังนั้นคอยสังเกตตัวเองและหมั่นตรวจร่างกายประจำปี และหากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

หากต้องเผชิญกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก อันตรายไหม ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

สิ่งที่ใครต่างกังวล หากในร่างกายนั้นมีมะเร็งก่อตัวขึ้น แล้วมะเร็งต่อมลูกหมาก อันตรายไหม จะมีอาการเริ่มต้นที่จะผลกระทบกับชีวิตประจำวันหรือไม่ แล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไร นั่นไม่ได้ยากอย่างที่คิด

เริ่มต้นจากการดูแลตัวเองร่วมกับคำแนะนำของแพทย์ คือสิ่งสำคัญพื้นฐานของป่วยที่ต้องปฏิบัติตาม หากได้รับการรักษาติดตามอาการอย่างต่อเนื่องก็สามารถมีชีวิตยืนยาว ยิ่งหากตรวจพบตั้งแต่ช่วงแรก ก็ยิ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ และแม้ว่าจะตรวจพบโรคช่วงระยะลุกลามแล้ว ผลการรักษาส่วนใหญ่ก็ยังสามารถควบคุมโรคได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ผู้ชายส่วนใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มักเสียชีวิตจากโรคอื่นหรือตามอายุขัยมากกว่า

 

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก อันตรายไหม

 

อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมลูกหมากจะไม่ได้รับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนัก เนื่องจากเป็นมะเร็งชนิดที่เติบโตอย่างช้าๆ กว่ามะเร็งชนิดอื่น ฉะนั้นผู้ป่วยควรดูแลตัวเองตามคำแนะนำจากแพทย์ ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม

  • ลดอาหารจำพวกเนื้อแดง แป้ง น้ำตาล และอาหารที่มีไขมันมาก

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

  • ลดความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ

 

รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

 

 

อ่านเรื่องของ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ทั้งหมด :

อ่านบทความทางการแพทย์เพิ่ม