ทำความรูัจักผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกจะสามารถรักษาให้หายขาดหรือถ้าสามารถควบคุมไม่ให้เกิดการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ จะสามารถใช้ชีวิตอยู่กับมะเร็งต่อมลูกหมากได้แม้อาจจะได้รับผลกระทบเล็กน้อยเวลาถ่ายปัสสาวะก็ตามแต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจพบเมื่อเข้าสู่ระยะลุกลามแล้วเนื่องจากอาการในระยะเริ่มต้นมักไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากนักหรือในบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ
อาการโดยทั่วไปของผู้ป่วย ระยะสุดท้าย
เมื่อมะเร็งต่อมลูกหมากเข้าสู่ช่วงระยะสุดท้ายนั่นหมายความว่ามะเร็งได้พัฒนาตัวออกจากต่อมลูกหมากไปสู่อวัยวะอื่นซึ่งมะเร็งต่อมลูกหมากนั่นมีโอกาสที่จะลุกลามไปเป็นมะเร็งกระดูกและต่อมน้ำเหลืองได้มากที่สุด ซึ่งผู้ป่วยในระยะสุดท้ายโดยทั่วไปมักจะมีอาการดังนี้
มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ
ร่างกายอ่อนแรงกว่าปกติ เช่น แขน ขาไม่มีแรงหรือขยับไม่ได้และมักมีอาการท้องผูกร่วมด้วย
อาจมีอาการขาบวม เท้าบวม ในบางรายอาจถึงขั้นเดินไม่ได้
ผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดศีรษะ เดินเซ แขนขาอ่อนแรง ไปจนถึงอาการชัก
อาจมีอาการเจ็บปวดบริเวณหลัง ซี่โครง หรือเชิงกรานซึ่งจะรู้สึกทรมานมากกว่าปกติ
อาการเหล่านี้ส่งผลให้ร่างกายยิ่งทรุดโทรมลงทำให้เกิดผลข้างเคียงในการรักษาได้ง่ายฉะนั้นในการรักษาผู้ป่วยต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นหลักโดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย จิตใจ รวมถึงสภาวะของโรค อาการที่เกิดขึ้นผู้ป่วยด้วย
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะสุดท้าย
ทั้งนี้ในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อประคองอาการให้กับผู้ป่วยมากที่สุด ที่สำคัญคือต้องดูแลด้านอาการการกิน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นทานผักผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นประจำหลีกเลี่ยงอาหารประเภทหมักดอง อาหารสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารค้างคืนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป โดยอาจพาออกไปพูดคุยกับผู้ป่วยด้วยกัน เพื่อลดความเครียดที่อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
สุดท้ายคือญาติที่ดูแลผู้ป่วยก็ต้องดูแลรักษาสุขภาพตัวเองให้ดีเช่นกัน ทั้งเรื่องอาหาร การพักผ่อน เพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง