การตรวจคัดกรองเบื้องต้นของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก คืออะไร

การตรวจคัดกรองเบื้องต้นเมื่อมีอาการที่เข้าข่ายความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากก็จะต้องรับการตรวจคัดกรองในเบื้องต้น ซึ่งมีวิธีตามลำดับ ดังนี้

การตรวจคัดกรองเบื้องต้น 

  • การตรวจทางทวารหนัก Digital rectal examination (DRE)

แพทย์จะใช้นิ้วมือสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจคลำดูขนาด รูปร่าง และความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก

 

  • การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง Prostate Specific Antigen (PSA)

เป็นการเจาะเลือดเพื่อดูสาร PSA โดยสาร PSA ถูกสร้างและหลั่งมาจากต่อมลูกหมาก ดังนั้นหากพบว่ามีค่า PSA ที่สูงกว่าค่าปกติ (ค่าปกติ 4 ng/mL) แสดงว่าต่อมลูกหมากอาจมีความผิดปกติ

 

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจด้วยการตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy) เมื่อแพทย์ตรวจพบก้อนเนื้อที่สงสัยก็จะทำการตัดชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมาก นำมาตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อดูว่าเป็นมะเร็งจริงหรือไม่ หรือว่าเป็นมะเร็งอยู่ในระยะใด

 

การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อหาการลุกลามของโรค

 

  • การตรวจเอกซเรย์คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)

เป็นการตรวจที่ สามารถตรวจการแพร่กระจายของมะเร็ง เพื่อใช้วางแผน ประเมินการรักษาที่ควรจะได้รับ

 

  • การตรวจสแกนกระดูก (bone scan)

ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกระดูก หรือมีความเสี่ยงการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่กระดูก

 

ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มต้น เซลล์มะเร็งจะค่อยๆ เติบโตอย่างช้าๆ ในมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ระยะที่ 2 พบเซลล์มะเร็งที่ต่อมลูกหมากมีแนวโน้มที่เซลล์มะเร็งจะเติบโตและแพร่กระจายได้
  • ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งเติบโตอย่างรวดเร็ว และแพร่กระจายออกนอกมะเร็งต่อมลูกหมากแต่ยังไม่ไปอวัยวะข้างเคียง
  • ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง

 

เมื่อผ่านการตรวจคัดกรองเบื้องต้นแล้ว และแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการรักษาตามระยะของผู้ป่วยแต่ละคนต่อไป

 

อ่านเรื่องของ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ทั้งหมด :