หลังการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก มีผลต่อสมรรถภาพทางเพศ หรือไม่ ?

ผลหลังผ่าตัด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

มาเรียนรู้เกี่ยวกับ สมรรถภาพทางเพศหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก สิ่งที่ผู้ชายทุกคนมีความกังวลนอกจากการถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแล้ว คือผลข้างเคียงของการรักษาที่อาจพบปัญหาเกี่ยวกับการเสื่อมสรรถภาพทางเพศ
ซึ่งไม่ว่าจะได้รับการรักษาด้วยวิธีไหนก็ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นสำหรับผู้ป่วยบางรายก็ได้รับผลกระทบเพียง 1-2 เดือน แต่บางรายก็อาจส่งผลในระยะยาวได้ โดยทุกวิธีการรักษาก็มีผลกระทบทั้งสิ้น อาทิ

การผ่าตัด

การผ่าตัดนำเอาต่อมลูกหมากออกทั้งหมดเป็นการรักษาเพื่อหวังผลให้หายขาดในระยะที่ยังไม่ลุกลามหรือลุกลามไปบ้างแล้วซึ่งการผ่าตัดจะใช้กับผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงดีโดยทั่วไปจะทำการรักษาด้วยการผ่าตัดในช่วงอายุไม่เกิน 70 ปี
และหลังการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก มักจะมีผลกระทบ ดังนี้

  • ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction)คือปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย

  • องคชาติมีความยาวลดลงเนื่องจากการผ่าตัดมีการตัดท่อปัสสาวะออกไปบางส่วน

  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urinary incontinence) อาการนี้ผู้ป่วยจะหายได้เองภายใน 3-6 เดือนหลังการผ่าตัด แต่พบว่า 2 ใน 10 คนจะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในระยะยาว

  • ไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิได้ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

  • มีความเสี่ยงต่อการเกิดไส้เลื่อนในอนาคต

 

การฝังแร่ในร่างกายหรือการฉายรังสี

วิธีการรักษาโดยการฝังแร่เข้าไปในต่อมลูกหมากหรือการฉายรังสีพลังงานสูงจากภายนอกร่างกายเพื่อทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยตรงซึ่งวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยอายุมาก ร่างกายไม่แข็งแรงและมะเร็งยังจำกัดอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก หรือหากอยู่ในระยะเเพร่กระจายก็จะใช้วิธีนี้เพื่อบรรเทา อาการ โดยผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียง ดังนี้

  • ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction)

  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urinary incontinence)

รักษาด้วยฮอร์โมน

การรักษาด้วยการควบคุมฮอร์โมนเพศชายเพื่อป้องกันไม่ให้ฮอร์โมนเพศชายมาออกฤทธิ์กระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็งหรือทำให้เซลล์ตายซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยในระยะแพร่กระจายหรือผู้ป่วยอายุน้อยที่เป็นมะเร็งชนิดร้ายแรง และมีผลข้างเคียงการรักษา ดังนี้

  • ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction)

  • ร่างกายมีอาการร้อนวูบวาบ

  • ความต้องการทางเพศลดลง

  • กระดูกบางลง

นอกจากนี้ความเครียดหลังการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ป่วยส่วนหนึ่งมักวิตกกังวลจนมีอาการเครียดแล้วส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศไปด้วยในบางรายก็อาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้าตามมาการ

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถรักษาให้หายไหม

 

ฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากหาก

ผู้ป่วยประสบปัญหาด้านสมรรถภาพทางเพศเป็นระยะเวลานานกว่าปกติสามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีการักษาต่อไป เช่น

คีเกล เอกเซอไซส์ (Kegel Exercises)

เป็นการออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยบริหารสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งเป็นเวลาต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ จะช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงและยังช่วยควบคุมการกลั้นปัสสาวะได้ด้วย

การใช้ยา

มียาหลายชนิดที่ช่วยรักษาอาการ ขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์ เช่น ยาในกลุ่มphosphodiesterase type 5 inhibitors (PDE5)เป็นยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มเลือดไหลเวียนไปที่อวัยวะเพศชายซึ่งอาจมีผลข้างเคียงอย่างปวดศรีษะ ใจสั่น คัดจมูก เป็นต้น

 

ปั๊มสูญญากาศ (Vaccum Pump)

ใช้วิธีใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปในท่อและปั๊มอากาศออกทั้งหมดเกิดเป็นภาวะสุญญากาศทำให้เลือดไหล แล้วใช้ห่วงที่ทำจากยางมารัดไว้ที่ฐานเลือดจึงเข้าไปคั่งในอวัยวะเพศชายส่งผลให้รักษาการแข็งตัวของอวัยวะเพศไว้ได้ประมาณ 30 นาที

 

คิวอาร์เอส-เพลวิก (QRS-Pelvic)

วิธีนี้ใช้คลื่นแม่เหล็กเข้าไปยังเส้นประสาทส่งผ่านไปถึงกล้ามเนื้อเชิงกรานช่วยทำให้เกิดการยืด-หดตัวของอวัยวะ ซึ่งจะทำประมาณ 1-2 ครั้งต่ออาทิตย์วิธีนี้จะทำให้ฟื้นตัวได้เร็วกว่าวิธีคีเกล เอกเซอไซส์

 

ทั้งนี้ยังมีอีกหลายวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย

 

อ่านเรื่องของ มะเร็งต่อมลูกหมาก ทั้งหมด :